CLIENT : Bytecrunch
***คอนเทนต์นี้เป็นส่วนหนึ่งจากงานเขียนที่ส่งมอบให้ลูกค้าแล้ว นำมาลงไว้ในเว็บไซต์นี้เพื่อเป็นตัวอย่างใน Portfolio ของผู้เขียนเท่านั้น ห้ามนำไปดัดแปลง ทำซ้ำหรือใช้ประกอบการใดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางบริษัท***
![](https://static.wixstatic.com/media/88dbdd_9344f87b0adf46d79990081a03d77f23~mv2.jpg/v1/fill/w_640,h_426,al_c,q_80,enc_auto/88dbdd_9344f87b0adf46d79990081a03d77f23~mv2.jpg)
เมื่อสัก 20 ปีที่แล้วเราคงเคยได้ยินคนรุ่นพ่อแม่ของเราสั่งสอนไว้ว่า จงหางานทำในบริษัทใหญ่โต จะได้มีการงานและอนาคตที่มั่นคง อยู่ในองค์กรเดียวและทำงานไต่เต้าเลื่อนขั้นไปเรื่อยๆ
ตัดภาพมาที่ 20 ปีให้หลังนี้ เรากลับพบว่า ไม่มีอะไรที่มั่นคงจริงๆเลยสักอย่างเดียว
ความหวังของคนทำงานในตอนนั้นก็คงเปรียบได้กับผู้โดยสารบนเรือไททานิคซึ่งถูกขายฝันด้วยคอนเซ็ปว่า เรือลำนี้เป็นเรือที่ไม่มีวันจม แต่กว่าจะรู้ว่าเรือไม่ได้แข็งแรงขนาดนั้นก็สายไปเสียแล้ว
หลายคนต่างตั้งคำถามว่า เราจะอยู่รอดในสถานการณ์ที่ไม่มั่นคงเหล่านี้ไปได้อย่างไร วันนี้ Btyecrunch จึงขอหยิบคอนเซ็ปของ VUCA มาให้ทุกคนได้รู้จัก
VUCA คือ อะไร?
จริงๆแล้ว VUCA ไม่ใช่คอนเซ็ปใหม่แต่มีการพูดถึงมาแล้วตั้งแต่ปี 1987 ซึ่งเป็นทฤษฎีความเป็นผู้นำ
ของสองศาสตราจารย์และนักเขียนชาวอเมริกัน Warren Bennis และ Burt Nanus ก่อนถูกนำไปใช้ในการทหารช่วงปลายของสงครามเย็น และถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้งในปี 2002 และหลักทฤษฎีนี้ก็ได้มาใช้ในโลกธุรกิจ องค์กร และการศึกษาในที่สุด
VUCA ย่อมาจากคำว่า Volatility(ความไม่แน่นอน) Uncertainty(ความไม่มั่นใจ) Complexity(ความซับซ้อน) และ Ambiguity (ความคลุมเครือ) ซึ่งสื่อความถึงโลกการทำงานในปัจจุบันที่เราทำอยู่นี้ การทำงานในสภาพแวดล้อมแบบ VUCA ต้องอาศัยทั้งความรวดเร็ว การปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงในองค์กรแบบฉับพลัน ซึ่งเป็นสภาวะที่องค์กรเผชิญอยู่ตลอดเวลา และเห็นได้ชัดในช่วงวิกฤตการณ์การระบาดของไวรัสโคโรน่าที่แม้แต่แบรนด์ใหญ่ก็ล้มหายตายจาก
เบนจามิน แฟรงคลินได้กล่าวไว้ว่า “ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เท่ากับความเปลี่ยนแปลง” คำพูดนี้สื่อถึงโลกในปัจจุบันอย่างจริงที่สุด ลองคิดดูสิว่าความเปลี่ยนแปลงในองค์กรของคุณจะเป็นอย่างไรในอีก 20 ปีข้างหน้า และอะไรเป็นสิ่งหลักๆที่จะเปลี่ยนแปลงต่อจากนี้?
แต่ความเปลี่ยนแปลงในองค์กรที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้พนักงานเกิดความเหนื่อยล้า ความเครียด ความกลัวข้างในใจที่จะต้องต่อสู้กับโลกใหม่ การที่ไม่เข้าไปช่วยแก้ไขวิธีคิดจะส่งผลให้พนักงาน Burnout ในที่สุด สิ่งที่เราต้องทำคือการพัฒนาวิธีคิดแบบ Agile มาปรับตัวเองและทีมอย่างสม่ำเสมอ Agile mindset นี้ประกอบไปด้วย
Positive attitude ทัศนคติเชิงบวก
Thirst for knowledge ความกระหายความรู้ใหม่ๆ
The goal of team success มุ่งสู่เป้าหมายของทีม
Pragmatism ปฏิบัตินิยม หรือวิธีคิดที่เกิดจากการลงมือทำจริง
Willingness to fail ความกล้าที่จะล้มเหลว
Image credit : pixabay
อ่านคอนเทนต์ทั้งหมดได้จากที่นี่>Bytecrunch
Comments